วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

CQI- R2R

โอกาสพัฒนาต่อเนื่อง       
การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด”
ปัญหาที่พบ
โรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่เป็นภาวะฉุกเฉินมากและมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงเนื่อง
เป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิตในทันทีทันใดได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาช่วยเหลือถูกต้องรวดเร็ว ทันเวลาในปี 2551 พบว่าผู้ป่วยมาตรวจที่ ERด้วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน16 ราย พบผู้ป่วยพบอุบัติการณ์ผู้ป่วยวินิจฉัยล่าช้าที่ER จำนวน 4 ราย (เสียชีวิต 4 ราย)คิดเป็น 25%  
สาเหตุของปัญหา                   
--ด้านบุคลากร มีการคัดกรองที่ผิดพลาด ทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมิน EKG ล่าช้า พยาบาลอ่าน EKG พื้นฐานไม่ได้ แพทย์ ลังเลในการวินิจฉัย
- ด้านเครื่องมือที่ไม่พร้อมใช้ เครื่องDefibbrillator ชำรุดส่งซ่อม Red dot หมด ลืมเบิก
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการล่าช้า ต้องตามเจ้าหน้าที่จากบ้านพัก
- ยาฉุกเฉิน ไม่พร้อมใช้
เป้าหมาย
-ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้รับ การประเมิน ช่วยเหลือ และวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว
-ลดอัตราการวินิจฉัยล่าได้ = 0
-อัตราผู้ป่วย ACS ได้รับการประเมิน EKG ใน 10 นาที ได้ 100 %
วิธีการพัฒนา/แก้ไขปัญหา
ปี2551-2552
-      ประสานงานกับองค์กรแพทย์เพื่อปรับปรุงแนวทางการดูแลช่วยในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่ชัดเจน ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยรักษาได้ง่ายขึ้น
-      ประสานงานกับจุดคัดกรอง OPD ER จัดประเภทผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บหน้าอกผ่านการคัดกรองโดยพยาบาลวิชาชีพ และเปิดช่องทางด่วนให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ห้องฉุกเฉินทันที
-      จัดทบทวนความรู้ เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ให้ทีมสุขภาพทุก 1ปี

ผลจากการแก้ไขปัญหา
พบว่าผู้ป่วยมาตรวจที่ ERด้วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน25ราย พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยวินิจฉัยล่าช้า จำนวน 4 ราย (เสียชีวิตที่ ER 3 ราย)คิดเป็น 16 %
ปี2553
-                   พัฒนาสมรรถนะพยาบาล ER ในการอ่าน EKG ที่ผิดปกติ
-                   พัฒนาสมรรถนะพยาบาล ER การตรวจ Troponin T ที่ ERได้ทันที
-                   ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ในการทำหัตถการติด Lead EKG ได้
-                   มีคู่มือการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
-                   มีการตรวจสอบความพร้อมเครื่องมือ บำรุงรักษา จัดหา ให้พร้อมใช้งานทุกวัน
ผลจากการแก้ไขปัญหา
พบว่าผู้ป่วยมาตรวจที่ ERด้วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน18ราย พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยวินิจฉัยล่าช้า จำนวน 2ราย(เสียชีวิตที่ ER 1 ราย)คิดเป็น 11.11%
ปี2554
-                   พัฒนาแบบประเมินคัดกรองอาการ ที่เสี่ยงต่อภาวะ ACS และแผนการพยาบาล ผู้ป่วยที่สงสัย ACS ให้พยาบาล ER ใช้ได้สะดวก (F-EMR-077แก้ไขครั้งที่01-21/01/54)
-                   พัฒนาแบบประเมินการให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อดูง่ายใช้สะดวก(F-EMR-112แก้ไขครั้งที่00-24/01/54)
-                   จัดให้มีแบบฟอร์มการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด มีเครื่องMonitor มีการติดต่อสื่อสารก่อนส่งต่อเป็นช่องทางด่วนในเครือข่ายจังหวัดเลย (F-EMR-108)
ผลลัพธ์
เครื่องชี้วัด
เป้าหมาย
2551
2552
2553
2554
2555
1.อัตราการวินิจฉัยผิดพลาด / ล่าช้า
2.อัตราผู้ป่วย ACS ได้รับการประเมิน EKG ใน 10 นาที
3.อัตราผู้ป่วยได้รับยา SK ภายใน 30  นาทีนับจากมาถึง ร..
4.ระยะเวลาเฉลี่ยผู้ป่วยได้รับยา SK นับจากมาถึง ร..
5.อัตราผู้ป่วย ACS ที่ทรุดลงระหว่างส่งต่อ
0%
100%
100

 30  นาที
0
25
NA
   0

45
0
16
60
    50

36.25
0
11.11
83.33
 50

32.30
0
6.25
93.75
60

36
1
17.2
86.20
33.3

49
0

แผนที่จะพัฒนาต่อเนื่อง
  - นำผู้ป่วยที่พบปัญหาการดูแลมาทบทวนในการประชุมหน่วยงานทุก 1 เดือน
 -  จัดทบทวนความรู้ เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ให้ทีมสุขภาพทุก 1ปี

- ประสานงานร่วมกับคลินิกเบาหวาน ประเมินกลุ่มเสี่ยงในผู้ป่วย และออกให้บริการEMS เพื่อออกรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้ทันที 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น