วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คัดกรองดี...ไม่มีลุ้นเสี่ยง

ชื่อเรื่อง คัดกรองดี... ไม่มีลุ้นเสี่ยง
หน่วยงาน    งานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน และงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
หัวหน้าทีม       คุณพรพิไล  นิยมถิ่น
ระยะเวลาดำเนินการ      ปี  2553 ปี 2555
ความสำคัญของปัญหา
                      โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย เป็นโรงพยาบาลชุมชนทุติยภูมิ  มีผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยนอก เฉลี่ย 500-600 ราย/วัน งานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน  มีผู้รับบริการ  80 100 ราย / วัน  มีผู้รับบริการเฉลี่ย  20 30 ราย / วัน  ที่ไม่ได้มารับบริการด้วยโรคหรืออาการฉุกเฉินร่วมกับพบอุบัติการณ์ การคัดกรองผิดพลาดล่าช้า  แผนกผู้ป่วยนอก  ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้รับบริการ  เช่น  ผู้ป่วยมีอาการชักขณะรอซักประวัติ   ผู้ป่วย  AMI   ขณะนั่งรอตรวจที่หน้าห้อง ER
 สาเหตุของปัญหา
                      จากการทำ   RCA   ร่วมกันระหว่างงาน   OPD    และ    ER   พบว่าเกิดจากบุคลากรนำแนวทางคัดกรองมาปฏิบัติไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค   อุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอและทักษะการคักรองของพยาบาลไม่มีประสิทธิภาพ
เป้าหมายของการพัฒนา
                      1. อัตราการคัดกรองผิดพลาดล่าช้าลดลง
                      2. ไม่มีอุบัติการณ์ความเสี่ยง  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดคัดกรองล่าช้า
                      3.  มีแนวทางการคัดกรองครอบคลุมทุกกลุ่มโรคสำคัญ
                      4.  มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการคัดกรอง  ผู้ป่วยที่เพียงพอ
                      5. ลดภาระงานในการดูแลผู้ป่วยทั่วไปในเวลาราชการ ที่ห้องฉุกเฉิน
วิธีการพัฒนาและแก้ไขปัญหา
                      1.  ทบทวนวิเคราะห์ปัญหา  อุปสรรคแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาให้เกิดระบบการคัดกรองร่วมกันระหว่าง  OPD
กับองค์กรแพทย์
                     2.  พัฒนา / ปรับปรุงกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการคักรองผู้ป่วยระหว่าง  OPD / ER   ยอมรับได้ในองค์กรแพทย์ และกำหนดจุดและพื้นที่ในการคัดกรองผู้ป่วย
                     3.  จัดทำ   WI   การคัดกรองผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินสามารถคัดกรองได้ เช่น แบบคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินและแบบคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
                     4.  จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือให้เพียงพอในการคัดกรองผู้ป่วย  เช่น  เครื่องวัดความดันโลหิต  เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด  เป็นต้น
                     5.  มีการมอบหมายงานให้มีพยาบาลอยู่ประจำจุดคัดกรอง
                     6.  ทบทวนความรู้วิชาการการคัดกรองผู้ป่วย  การแยกประเภทผู้ป่วยในหน่วยงานทุก  6  เดือน
                     7.  จัดให้มีบริการจัดระบบคิวตามความเร่งด่วน  ทีมทางด่วน  และทีมทั่วไป
                     8.  จัดให้มีการประสานงานส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างพยาบาล OPD กับ ER 


ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
                      1.  อัตราการคัดกรองผิดพลาด
                      2.  ไม่มีอุบัติการณ์ความเสี่ยงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดคัดกรองผิดพลาด
                      3.  มีแนวทางการคัดกรองที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ผู้ปฏิบัติอ่านแล้วเข้าใจ
                     4ผู้รับบริการตรวจทั่วไปในเวรเช้า   ER   ลดลง
                      5.  ผู้มารับบริการ  มีความพึงพอใจในระบบการเข้าถึงบริการ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
                1ยังพบผู้ป่วยคัดกรองผิดพลาดที่OPD
ปี
จำนวนอุบัติการณ์ รุนแรงระดับ E
2553
4 (SVT UGIB Stroke Shock )
2554
4 (Chest pain  Febrile  หอบ  SVT )
2555
4 (SVT Hyperglycemia  Shok2 )
 2.  ไม่มีอุบัติการณ์ความเสี่ยงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดคัดกรองผิดพลาด
               3มีแนวทางการคัดกรองที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ผู้ปฏิบัติอ่านแล้วเข้าใจ
              4 จำนวนผู้ป่วยตรวจทั่วไปในเวรเช้าER ลดลง
ปี
จำนวนผู้ป่วยตรวจทั่วไป เวรเช้าวันราชการ (คน/ปี)
2553
14,629
2554
11,979
2555
11,390
5.ผู้ป่วย มารับบริการ มีความพึงพอในการเข้าถึงบริการมากขึ้น
ปี
                ร้อยละคะแนนความพึงพอใจผู้รับบริการด่านหน้า
2553
87.06
2554
88.79
2555
91.94
ปัญหาอุปสรรค
                      1.  การคัดกรองยังไม่สามารถทำได้ตามแนวทางในผู้ป่วยบางราย  เนื่องจากมีผู้รับบริการมากในบางวัน
                      2.  การประสานงานส่งต่อระหว่าง   OPD  และ   ER  ยังไม่เป็นไปตามแนวทางในบางวัน
แผนพัฒนาต่อเนื่อง

                     1. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรทุกระดับ สามารถคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น